บพค. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ พร้อมหาแนวทางพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบต่อประเทศ

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 บพค. นำโดย ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ รวมถึงนักวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนงานข้อ ริเริ่มการวิจัยขั้นแนวหน้าประเทศไทย โปรแกรม 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ (จำนวน 2 โครงการ) และแผนงานโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อการยกระดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย/ สถาบันวิจัยไทย โปรแกรม 16 การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Organization Bridging Fund (จำนวน 1 โครงการ) ดังนี้

  1. โครงการ “การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยวัณโรคในลิงแสมไทยและอุบัติการณ์ของโรคในธรรมชาติ ร่วมกับการศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมจุลชีพในระบบทางเดินอาหารและยีนที่เกี่ยวข้องในลิงแสมและยีนเชื้อวัณโรค” โดย ศ.ดร. อังคณา ฉายประเสริฐ สังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ (โปรแกรมที่ 5)
  2. โครงการ “การผลิตกำลังคนคุณภาพสูงและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทรัพยากรชีวภาพทางเคมีชีวภาพเมตาโบโลมิกส์ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและวัสดุเพื่อความยั่งยืน” โดย ศ. ดร.วิชัย ริ้วตระกูล สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ (โปรแกรมที่ 16)
  3. โครงการ “บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานของระบบทางเดินอาหารกุ้งอย่างเป็นระบบ: โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่” โดย รศ. ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ (โปรแกรมที่ 5)

โดย ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิเคราะห์โครงการ เดินทางไปยังคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อติดตามโครงการ โดยมี รศ. นพ.สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัยเเละนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การต้อนรับ จากนั้น ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการติดตามโครงการ และการบริหารจัดการโครงการ และรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ

ในการนี้ ศ.ดร. อังคณา ฉายประเสริฐ หัวหน้าโครงการ และคณะร่วมผู้วิจัยในโครงการ “การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยวัณโรคในลิงแสมไทยและอุบัติการณ์ของโรคในธรรมชาติ ร่วมกับการศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมจุลชีพในระบบทางเดินอาหารและยีนที่เกี่ยวข้องในลิงแสมและยีนเชื้อวัณโรค” ได้นำเสนอวัตถุประสงค์ กรอบการวิจัย และผลการดำเนินงานในภาพรวมของแผนงาน ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการย่อย โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยวัณโรคในลิงแสม ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อก่อวัณโรคในลิงเทียบกับเชื้อก่อโรคในคน ศึกษาความสัมพันธ์ของ Gut microbiota ต่อการติดเชื้อวัณโรคในลิงแสม และศึกษากลไกในการติดเชื้อวัณโรคและการแสดงออกของอาการ ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางพันธุกรรม (Genome) ในลิงแสมในธรรมชาติ โดยข้อมูลที่ได้นี้จะก่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ในการนำลิงแสมที่ติดเชื้อวัณโรคในธรรมชาติไปใช้เป็นสัตว์ทดลองในการทดสอบยาและวัคซีนวัณโรคสำหรับคนต่อไป ซึ่งจากผลการดำเนินงาน คณะผู้วิจัยสามารถพัฒนาการตรวจวินิจฉัยวัณโรคเพื่อแยกระหว่างลิงที่ติดเชื้อกับลิงที่ไม่ติดเชื้อวัณโรคด้วยวิธี In-house monkey Interferon-Gamma Release Assay ซึ่งเป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถตรวจในลิงได้รวดเร็วขึ้น ศึกษาพบกลุ่มแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อวัณโรค ในทางเดินอาหารของลิงแสม และวิเคราะห์หาลำดับเบสของแบคทีเรียด้วย Oxford Nanopore Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่และมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงทำการสำรวจและศึกษาการระบาดของวัณโรคในลิงแสมชนิดย่อยธรรมดา (Macaca fascicularis) และลิงวอก (Macaca mulatta) ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติและมีปฏิสัมพันธ์กับคนในประเทศไทยจาก 17 แหล่ง เป็นจำนวนกว่า 890 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ โดยผลการดำเนินงานในระยะ 1 ปีดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างงานวิจัยขั้นแนวหน้า และก่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่มีความสำคัญต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากเป็นการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกที่สามารถต่อยอดการศึกษาวัณโรคในคนต่อไป

  1. โครงการ “การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยวัณโรคในลิงแสมไทยและอุบัติการณ์ของโรคในธรรมชาติ ร่วมกับการศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมจุลชีพในระบบทางเดินอาหารและยีนที่เกี่ยวข้องในลิงแสมและยีนเชื้อวัณโรค” โดย ศ.ดร. อังคณา ฉายประเสริฐ สังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ (โปรแกรมที่ 5)
  2. โครงการ “การผลิตกำลังคนคุณภาพสูงและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทรัพยากรชีวภาพทางเคมีชีวภาพเมตาโบโลมิกส์ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและวัสดุเพื่อความยั่งยืน” โดย ศ. ดร.วิชัย ริ้วตระกูล สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ (โปรแกรมที่ 16)
  3. โครงการ “บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานของระบบทางเดินอาหารกุ้งอย่างเป็นระบบ: โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่” โดย รศ. ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ (โปรแกรมที่ 5)

โดย ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิเคราะห์โครงการ เดินทางไปยังคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อติดตามโครงการ โดยมี รศ. นพ.สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัยเเละนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การต้อนรับ จากนั้น ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการติดตามโครงการ และการบริหารจัดการโครงการ และรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ

จากนั้น บพค. และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เดินทางไปยังคณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร เพื่อลงพื้นที่ติดตามอีก 2 โครงการ โอกาสนี้ ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการติดตามโครงการ และการบริหารจัดการโครงการ โดยมี ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณะผู้วิจัย ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ

โดย ศ. ดร.วิชัย ริ้วตระกูล หัวหน้าโครงการ “การผลิตกำลังคนคุณภาพสูงและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทรัพยากรชีวภาพทางเคมีชีวภาพเมตาโบโลมิกส์ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและวัสดุเพื่อความยั่งยืน” ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการภายใต้จุดประสงค์ของงาน ได้แก่

  1. การพัฒนาพลังงานทางเลือกผ่านกระบวนการ biorefinery ของ biomass ผ่านการพัฒนา catalyst ที่มีประสิทธิภาพสูงในการเร่งปฏิกิริยา biorefinery
  2. การพัฒนากระบวนการตรวจวัดสารที่เกิดจาก metabolomic และสารออกฤทธิ์ในพืชธรรมชาติ และ
  3. การพัฒนาวัสดุใหม่เพื่อการเก็บกักพลังงานเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันสถาบันการศึกษาและวิจัยร่วมกับประเทศไต้หวัน ได้แก่ Academia Sinica และ National Tsing Hua University ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะ 1 ปีนั้น ทีมนักวิจัยได้ผลิตผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ฉบับ และมีการจัด International Conference แล้วจำนวน 1 ครั้ง และจากผลการดำเนินงานและแผนการทำงานที่นักวิจัยได้นำเสนอ ผู้ทรงคุณวุฒิได้ซักถามเพิ่มเติมในหลายประเด็น เช่น ความสำคัญของการเลือกชนิดพืชมาใช้ในการศึกษา การรักษาความเป็นเจ้าของข้อมูลของงานวิจัยเมื่อต้องมีการทำความร่วมมือกับ partnership ต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งนักวิจัยได้รับข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับใช้ในการดำเนินโครงการต่อไป

จากนั้น บพค. และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมรับฟังนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ “บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานของระบบทางเดินอาหารกุ้งอย่างเป็นระบบ: โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่” โดยมี รศ. ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของกุ้งขาวทั้งระบบ ทั้งด้านโครงสร้าง หน้าที่ และบทบาทของอวัยวะและเซลล์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชากรสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารของกุ้งในแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโต โดยความเข้าใจเหล่านี้จะนำมาสู่มารฐานการเพาะเลี้ยง และการเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของระบบทางเดินอาหารในกุ้ง อีกทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารกุ้งให้สามารถผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาคุณภาพกุ้งเพื่อการบริโภคและส่งออกอย่างยั่งยืนได้ต่อไป โดยทั้งนี้ผลการศึกษาในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยศึกษาพบข้อมูลบทบาทหน้าที่การทำงานที่ขาดความเข้าใจมาก่อนเช่น ระบบ Cellular organization of hetero pancreases ของกุ้งซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อระบบการย่อยของกุ้ง การค้นพบรูปแบบการเก็บกับและขับถ่าย (gut transportation) และอิทธิพลจาก Neuroanatomical ที่มีผลต่อการเลือกกินอาหารของกุ้ง เป็นต้น โดยผู้ทรงคุณวุฒได้ให้ความสนใจต่อผลการศึกษาและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานในช่วงเวลาต่อไปของโครงการ

จากนั้น รศ. ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ ได้นำคณะ บพค. และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และห้อง Shrimp reproduction and genetic improvement platform group ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการหลักสำหรับการศึกษาระบบทางเดินอาหารกุ้ง

ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ติดตามโครงการนี้ นักวิจัยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและได้รับคำแนะนำจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต่อผลการดำเนินงาน และแนวทางในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบต่อประเทศมากยิ่งขึ้น รวมถึงได้สร้างความเข้าใจและเห็นถึงผลการดำเนินโครงการในภาพรวมระยะ 1 ปี ซึ่งสะท้อนได้ชัดเจนมากขึ้นจากการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและลงพื้นที่เยี่ยมชมสถาบันวิจัย อีกทั้งได้รับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานผู้ให้ทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันในอนาคตต่อไป