บพค. ร่วมกับ e-ASIA JRP เดินหน้าพัฒนาข้อเสนอโครงการด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 Mr. Masaki SATO (Manager, Department of International Affairs) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “e-ASIA JRP International Environment Workshop” ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 10 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การพัฒนาข้อเสนอโครงการด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย และรวมกลุ่มนักวิจัยเพื่อสมัครทุน the 12th e-ASIA JRP open call ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมมากกว่า 100 คน จากทั้งประเทศไทย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย

เนื่องด้วยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลุ่มที่ 2 รายงานเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ทุกภูมิภาคจากการปล่อย CO2 หลายประเทศ จึงได้มีการทำข้อตกลงเพื่อลดการปล่อย CO2 โดยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการดักจับคาร์บอนเพื่อลดการปล่อย CO2 ในอุตสาหกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถดักจับ CO2 ได้ถึง 99% ผ่านเทคโนโลยีดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บเป็นทั้ง technology-based และ nature-based solution จำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแทนที่แหล่งพลังงานฟอสซิลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลจากการประชุม e-Asia ประจำปี 2022 ประเทศไทย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซียได้มีการตกลงร่วมกันเพื่อประกาศทุน Environment on 12th e-ASIA call for proposals

Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) (Technology-based Solutions) ประกอบด้วย การนำเสนอ Roadmap และแผนภาพโดยรวมของประเทศไทย โดย ศ.ดร. วงกต วงศ์อภัย และในประเทศอินโดนีเซีย โดย Dr. Wawan Gunawan A. Kadir และการนำเสนองานวิจัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ CO2 งานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญทั้งจากประเทศไทย ญี่ปุ่น ได้แก่ Dr. Hidetaka Yamada และ Dr. Hiroshi Machida ที่พัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ CO2 ด้วย amine-based และ phase separation solvent ซึ่ง technology carbon capture จะเป็น key point สำคัญในการดำเนินการด้าน carbon credit ของประเทศต่อไป

  1. Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) (Nature-based Solutions) ที่เป็นหนึ่งในวิธีการด้านการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตผ่านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ซึ่งแต่ละประเทศนำเสนองานวิจัยด้าน Nature-based Solutions ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาระบบนิเวศชายฝั่งตัวอย่างจากประเทศไทย โดย รศ.ดร. อัญชนา ประเทพ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการสร้าง engagement จากชุมชนบริเวณชายฝั่งจากประเทศอินโดนีเซีย โดย Dr. Farah Mulyasari รวมถึงตัวอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพด้วยพืชไร่เช่นมันสำปะหลัง โดย Dr. Motoaki Seki จาก RIKEN ประเทศญี่ปุ่น
  2. Low carbon Society โดย รศ.ดร. อำนาจ ชิดไธสง (Session chair) ได้เป็นผู้นำเสนอทิศทางของประเทศไทยด้าน Low carbon society และตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็น Roadmap หรือกลลยุทธ์ที่ได้มีการศึกษารวบรวมไว้ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างการดำเนินการที่น่าสนใจจากประเทศญี่ปุ่น โดย Dr. Toshihiko Masui Prof. และ Dr. Dodik Ridho Nurrochmat จากประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้ง รศ.ดร. สิรินทรเทพ เต้าประยูร ได้นำเสนอการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ด้านการศึกษาวิจัย การทำงานร่วมกับชุมชน และการนำเสนอสู่การเป็นนโยบายระดับประเทศในหลายโมเดล
  3. Materials (Battery) เป็น session ที่มีการกล่าวถึงเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่และการพัฒนาประสิทธิภาพด้วยวิธีการต่างๆ โดยมี Prof. Dr. Mohammad Zaki Mubarak (Session chair) และ Prof. Dr. Agus Purwanto จากประเทศอินโดนีเซียนำเสนองานวิจัย ที่กล่าวถึงการพัฒนาลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ด้วยการพัฒนาขั้ว Cathod และ ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล จาก ENTEC ได้ฉายภาพการดำเนินงานด้านการพัฒนางานวิจัยด้าน energy converstion ที่มีการดำเนินงานอยู่ใน ENTEC รวมทั้ง รศ.ดร. นงลักษณ์ มีทอง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอกระบวนการวิจัยที่ดำเนินการเพื่อพัฒนาลิเทียมไอออนแบตเตอรี่และการขยายกระบวนการผลิต โดยมีต้นแบบโรงแบบเตอรี่ที่ได้ตั้งขึ้นแล้วภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย นอกจากการพัฒนาด้านแบตเตอรี่ Prof. Junichiro Otomo จากประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอการพัฒนาวัสดุ protonic ceramic เพื่อลดอุณหภูมิของระบบใน Fuel cell

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 คณะบพค. นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการ บพค. และนักวิเคราะห์อาวุโส เดินทางไปเยี่ยมชม Catalyst Research Laboratory, National Nanotechnology Center (NANOTEC) และ Lithium Battery Testing Laboratory, Electrical and electronic products testing center (PTEC) จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาการทำงานของนักวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุแบตเตอร์รี่

ในการนี้ บพค. ได้ร่วมกับ e-Asia JRP เปิดรับข้อเสนอโครงการครั้งที่ 12 ภายใต้โปรแกรม e-ASIA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมนวัตกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค มีรายละเอียดประกาศทุน ดังนี้• วันที่เปิดรับข้อเสนอโครงการ: 15 ธันวาคม 2565• วันที่ปิดรับข้อเสนอโครงการ: 30 มีนาคม 2566 เวลา 17:00 น.