เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2568

“High Caliber Impact-oriented Researchers”

เหลือเวลายื่นข้อเสนออีก

17Days
15Hours
7Mins
21Secs
หน่วยงานให้ทุน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
กรอบวิจัย

ภายใต้แผนงานย่อย N42(S3P19) พัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า เพื่อสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายด้านเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของประเทศและการป้องกันประเทศ

แผนงาน P19 (S3) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต

โจทย์วิจัย

การเปลี่ยนผ่านของภาคส่วนพลังงาน (Energy Transition) ไปสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืน (RE100) เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG) ของประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “Energy Transition Frontier Technologies towards Net Zero Pathways”

  • Hydrogen Power Innovation and Supporting Ecosystems : เทคโนโลยีขั้นแนวหน้าสำหรับ Green Hydrogen Ecosystem เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิต การกักเก็บ การนำส่ง และการใช้ประโยชน์
  • The Empowerment of Fuel Cell and Battery Technologies for Future : เทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้องการพัฒนา Battery Cell, Battery Packing ให้มีความสามารถในการแข่งขัน
  • High impact research driving ambition on Renewables – RE100 : งานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมขั้นสูงที่สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนสะอาดในภาคอุตสาหกรรม
เกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการเบื้องต้น
  • ข้อเสนอโครงการเป็นโครงการที่เป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศทุนที่ระบุไว้
  • แสดงถึงการวิจัยค้นคว้าเพื่อให้เกิดการสร้างต้นแบบเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่สามารถต่อยอดและขยายผลในภาคอุตสากรรม และแสดงให้เห็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคีเครือข่ายในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนสอดคล้องตามแนวทางของประกาศทุน และแสดงถึงแนวคิดใหม่ที่มุ่งไปสู่การเป็น Technology platform ที่สามารถต่อยอดและขยายผลสู่การนำไปประยุกต์ใช้งานจริง
  • มีความร่วมมือดำเนินโครงการเป็น Consortium ที่เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคีเครือข่ายในสาขาที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานวิจัย สถาบันอุดมศึกษา โดยประกอบด้วยนักวิจัยจากอย่างน้อย 4 สถาบัน
เงื่อนไขการพิจารณาข้อเสนอโครงการ
  • ยื่นข้อเสนอโครงการ และหน่วยงานต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการ ต้องทำการรับรองข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบ NRIIS ภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.30 น. เท่านั้น
  • โครงการต้องมีภาคอุตสาหกรรมร่วมลงทุน และ/หรือ ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ในรูปแบบเป็นตัวเงิน (in-cash) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของงบประมาณโครงการ และมีการสนับสนุนการสนับสนุนทั้ง in-cash และ in-kind รวมกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของงบประมาณทั้งโครงการ
  • นักวิจัยจากแต่ละสถาบันที่ร่วมโครงการจะต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันต้นสังกัด (Letter of support) และโครงการต้องมีหนังสือรับรองหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมโครงการของภาคเอกชน (Letter of Intent) ที่ลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามของสถาบัน/หน่วยงาน
เวลารับข้อเสนอฯ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน – 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.30 น.
การยื่นข้อเสนอฯ ผ่านระบบ NRIIS

หมายเหตุ :

    • หากท่านมีข้อสงสัยในการยื่นข้อเสนอโครงการสามารถหาคำตอบเบื้องต้นได้ที่ คำถามที่พบบ่อย

ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง